วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

โรคหัวใจและหลอดเลือดคือโรคเรื้อรังหรือโรคประจำตัวอันดับ 1 ของคนไทย

เตือนภัย "โรคหัวใจและหลอดเลือด"

โรคหัวใจและหลอดเลือดหมายรวมถึง โรคหัวใจขาดเลือด และโรคสมองขาดเลือดจากหลอดเลือดตีบหรือแตก เป็นโรคที่บ่อนทำลายชีวิตและสุขภาวะของคนไทยมากกว่าครึ่งแสนในแต่ละปี

ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โรคหัวใจและหลอดเลือดคือโรคเรื้อรังหรือโรคประจำตัวอันดับ 1 ของคนไทย โดย ร้อยละ 2 8 ป่วยด้วยโรคดังกล่าว และเป็นโรคที่คร่าชีวิตคนไทยรวมมากกว่าปีละ 65,000 คนซ้ำยังมีผลสำรวจพบผู้ที่ยังไม่ปรากฏอาการ แต่พบปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวพันต่อการเกิดโรคนี้ในอนาคตอีกจำนวนมาก

จากข้อมูลการสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 3 อันเป็นครั้งล่าสุด พบข้อมูลที่ส่งสัญญาณเตือนว่าโรคนี้น่าจะยังรั้งตำแหน่งโรคร้ายที่บั่นทอนสุขภาพและคุณภาพชีวิตคนไทยไปอีกพักใหญ่ เพราะพบปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคแฝงอยู่ในร่างกายของกลุ่มตัวอย่างจำนวนมาก ทั้งเรื่องของการสูบบุหรี่ ความดันโลหิตสูง มีอาการเบาหวาน คลอเลสเตอรอลในเลือดสูง การมีเส้นรอบเอวหรือน้ำหนักเกินมาตรฐาน มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ


ข้อมูลสำคัญอันน่ารู้ที่เกี่ยวพันกับความเสี่ยงเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดจากการสำรวจครั้งนี้
ได้แก่
• ผู้ชายไทยเกือบครึ่งหนึ่งสูบบุหรี่เป็นประจำ

• ผู้ชายมีความดันโลหิตสูงกว่าผู้หญิง

• พบอาการเบาหวาน ระดับคลอเลสเตอรอลในเลือดสูง และการทำกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอจนน้ำหนักและเส้นรอบเอวเกินมาตรฐาน เป็นปัจจัยเสี่ยงที่พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

• ผู้ชายที่อยู่ในกรุงเทพฯ พบภาวะเสี่ยงจากอาการเบาหวานมากกว่าผู้ชายในภาคอื่นถึง 2 เท่า

• คนกรุงเทพฯ มีระดับคลอเลสเตอรอลในเลือดสูงกว่าคนอีสานประมาณ 3 เท่า• มีคนจำนวนไม่น้อยที่พบปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดมากกว่า 4 ปัจจัยรวมอยู่ในตัวคนๆ เดียว โดยพบในคน
กรุงเทพฯ มากที่สุด (ร้อยละ 3) รองลงมาคือ ภาคกลาง (ร้อยละ 2 .1) ภาคใต้(ร้อยละ 1.5) ภาคเหนือ (ร้อยละ 1.1) และอีสาน (ร้อยละ 0.8) ตามลำดับ

การลดปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด
ต้องดำเนินการทั้งด้านมาตรการรัฐ และการปฏิบัติตัวของเราแต่ละคนควบคู่กัน ได้แก่มาตรการรัฐ
- การจัดการด้านนโยบายที่เกี่ยวกับอาหารและการบริโภคของประชาชน
- การปรับปรุงสิ่งแวดล้อมเพื่อเอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ
- การพัฒนาคุณภาพบริการทางด้านสุขภาพการปฏิบัติระดับบุคคล
- กินผัก ผลไม้ให้มากขึ้น และลดอาหารขนม ผลไม้ที่มีรสหวาน
- ไม่สูบบุหรี่
- ออกกำลังกายให้มากขึ้น
- ฝึกจิตใจให้ผ่อนคลายความเครียดแม้ไม่ใช่เรื่องง่ายแต่คุณทำได้แน่ หากตั้งใจจริงว่าอยากมีสุขภาพดีไปนานๆ
การลดปัจจัยเสี่ยงร่วมเหล่านี้ลง จะทำให้ลดการป่วยหรือเสียชีวิตจากกลุ่มโรคนี้ได้

ที่มา : ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด โดย นพ.วิชัย เอกพลากร ใน รายงานสุขภาพคนไทย พ.ศ.2550


วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2556

โคเลสเตอรอลชนิดเลว เป็นพิษต่อระบบประสาท ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์


เป็นที่ทราบกันว่า การรับประทานอาหารไขมันสูง และการเพิ่มขึ้นของ LDL-คลอเรสเตอรอล ในกระแสเลือด อาจเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคอัลไซเมอร์จากการเสื่อมสลายของเซลล์ประสาท (neurodegeneration) แต่กลไกการเกิดยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด

ในหนูทดลองที่รับประทานอาหารไขมันสูง พบว่ามีความผิดปกติของจำนวนโครโมโซมในเซลล์ประสาท ซึ่งพบว่าร้อยละ 90 ของการทำลายเซลล์ประสาทในคนไข้อัลไซเมอร์ คือเซลล์ประสาทที่มีจำนวนโครโมโซมผิดปกติเช่นกัน ยังพบอีกว่า LDL-คลอเรสเตอรอล เหนี่ยวนำให้เกิดการแบ่งตัวที่ผิดปกติของเซลล์เพาะเลี้ยง กล่าวคือ จะเกิดความผิดปกติในช่วงการจำลองตัวเองของโครโมโซมคู่ที่ 21 ซึ่งปกติจะได้คู่โครโมโซม กลายเป็นโครโมโซมเดี่ยวๆ หรือโครโมโซม 3 แท่ง โดยโครโมโซมคู่ที่ 21 นั้น มีรหัสพันธุกรรมของ amyloid peptide ซึ่งเป็นโปรตีนที่เป็นพิษต่อเซลล์ประสาท พบมากในสมองของคนไข้อัลไซเมอร์ นอกจากนั้น LDL-คลอเรสเตอรอล ยังทำให้รูปร่างของ mitotic spindle เปลี่ยนแปลงไป ทำให้กระบวนการแบ่งเซลล์ผิดปกติ

จากการศึกษาเหล่านี้ ช่วยให้เกิดความเข้าใจในกลไกการเกิดโรคได้มากขึ้น จะเห็นว่าการเพิ่มขึ้นของ LDL-คลอเรสเตอรอล ทำให้เกิดความผิดปกติของวัฏจักรเซลล์ ส่งผลให้มีจำนวนโครโมโซมผิดปกติ และความไม่คงตัวของโครโมโซม กระตุ้นให้เกิดการเสื่อมสลายของเซลล์ประสาท

ดังนั้น ผู้ที่มีระดับ LDL สูงเกินกว่า 150 mg% จึงไม่ควรนิ่งนอนใจ จำเป็นต้องหาทางลดระดับ LDL ให้กลับสู่ค่าปกติ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีในบั้นปลาย

อ้างอิงจาก:
Granic A. and Potter H. (2013) Mitotic Spindle Defects and Chromosome Mis-Segregation Induced by LDL/Cholesterol�Implications for Niemann-Pick C1
Alzheimer�s Disease
and Atherosclerosis. PLOS ONE. 8(4).

ดาวน์โหลด:
ดูหรือสั่งพิมพ์ในรูปแบบ




วันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

บริโภค Folate and Vitamin B6 ให้เพียงพอ ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ



ข้อมูลจากการศึกษาชิ้นหนึ่งที่ทำในประเทศญี่ปุ่นระบุว่าการรับประทาน folate และวิตามินบี 6 จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจาก stroke และโรคหลอดเลือดหัวใจอื่นๆ ได้ในผู้หญิง และอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจล้มเหลวในผู้ชายได้อีกด้วย
การศึกษาดังกล่าวมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ชาย 23,119 ราย และผู้หญิง 35,611 ราย (อายุระหว่าง 40-79 ปี) ที่ตอบแบบสอบถามที่จัดทำโดย Japan Collaborative Cohort study มีค่ากลางของระยะเวลาติดตามผล คือ 14 ปี

จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลในแบบสอบถามพบว่าผู้ชายที่รับประทาน folate และวิตามินบี6 ในปริมาณที่สูงกว่าจะมีการเสียชีวิตจากโรคหัวใจล้มเหลวต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญ และผู้หญิงที่รับประทาน folate และวิตามินบี6 ในปริมาณสูงกว่าจะมีการเสียชีวิตจาก stroke , heart disease และ cardiovascular disease ต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนการรับประทานวิตามินบี 12 นั้นไม่สัมพันธ์กับการลดลงของอัตราการเสียชีวิต และผลดังกล่าวของ folate และวิตามินบี 6 นั้นยังคงมีนัยสำคัญอยู่ แม้ว่าจะมีการปรับปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ
นักวิจัยเชื่อว่ากลไกที่ทำให้เกิดผลดังกล่าวน่าจะมาจากการที่ folate และ วิตามินบี 6 สามารถลดระดับสาร homocystein ในเลือดได้นั่นเอง

ในไบออสไลฟ์ คอมพลีท ไม่ได้มีแค่ 4 กลไก ที่เราทราบกันเท่านั้น แต่ยังอุดมไปด้วย Folate และ วิตามินบี 6 ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคหัวใจ หรือมีปัญหาโคเลสเตอรอลสูง ควรแนะนำให้เขาดื่ม ไบออสไลฟ์ คอมพลีท ก่อนอาหาร อย่างน้อยวันละ 2 มื้อ เป็นประจำตลอดไป

Reference : http://www.medscape.com/viewarticle/720645?sssdmh=dm1.613092&src=nldne&uac=112831HV





HDL หรือไขมันชนิดดี มีประโยชน์อย่างไร ต้องกินอะไรจึงได้ HDL?

HDL หรือไขมันชนิดดี มีประโยชน์อย่างไร ต้องกินอะไรจึงได้ HDL?

ไขมัน บางคนได้ยินคำนี้แล้วร้องยี้~~ เพราะคิดว่าไขมันนั้นมีแต่โทษถ้าทานเยอะเกินไป สะสมทำให้อ้วน เป็นโรคหลอดเลือด เป็นโรคหัวใจ
แต่จริงๆแล้ว ไขมันมีประเภทที่มีประโยชน์ด้่วยครับ เรียกง่ายๆว่า "ไขมันชนิดดี" นั่นเอง
ซึ่งชื่ออย่างเป็นทางการของไขมันชนิดดีนี้ ก็คือ HDL (เอชดีแอล) นั่นเองครับ

เอชดีแอลจัดเป็นคอเลสเตอรอลที่มีความหนาแน่นสูง ไม่เกิดโทษเหมือนคอเลสเตอรอลปกติ ซ้ำยังมีสรรพคุณป้องกันโรคหัวใจ โรคหลอดเลือด และโรคมะเร็งอีกด้วย (ตรงข้ามกับคอเลสเตอรอลปกติโดยสิ้นเชิง)
หน้าที่ของ HDL คือ ทำหน้าที่ขนส่ง cholesterol และ กรดไขมัน จากส่วนต่างๆ ของร่างกายไปที่ตับเพื่อทำลาย โดยใช้ enzyme LCAT(lecithin-cholesterol-acyl-transferase) เปลี่ยน chlolesterol ให้เป็น cholesterol ester เก็บไว้ในแกนกลางของ HDL-c HDL-c ตัวนี้เรียกว่า HDL3 ในระหว่างทางอาจจมีการรับ free fatty acid หรือ triglyceride จากพวกที่โดน lipase ย่อยสลายไว้ ก็จะมีโมเลกุลใหญ่ขึ้น เรียกว่าเป็น HDL2 แล้วจึงนำเข้าสู่ตับ แต่โมเลกุลของ HDL2 และ HDL3 นั้นอาจเปลี่ยนรูปไปมากันได้โดยอาศัย LCAT ช่วย
กรณีที่ผู้ป่วยที่มีระดับ HDL ต่ำกว่าปกติจะทำให้มีการสะสมของ cholesterol ในเนื้อเยื่อและผนังหลอดเลือดมากขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุเบื้องต้นที่สำคัญของการเกิดโรค atherosclerosis และ โรคหัวใจขาดเลือด
นอกจากนี้ HDL ยังมีบทบาทหน้าที่ที่สำคัญ ต่อผนังเยื่อบุหลอดเลือด และ ยับยั้งการจับตัวของลิ่มเลือด ช่วยให้เลือดไหลเวียนสะดวก ไม่อุดตัน
จึงเป็นผลดีต่อการป้องกันการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด

ค่าระดับปกติของ HDL ที่เหมาะสม คือ 35-60 mg/dl

หาก HDL ต่ำกว่า 35 mg/dL = มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

หาก HDL สูงกว่า 60 mg/dL = ไม่มีความเสี่ยง หรือความเสี่ยงต่ำ

แล้วเราจะเพิ่มปริมาณ HDL ได้อย่างไรล่ะ? มีมากในอาหารประเภทไหน หรือต้องกินอะไร?
คำตอบก็ตามนี้ครับ

1. ทานอาหารที่มี Omega 3 (โอเมก้า 3) ครับ ซึ่งแหล่งที่มีโอเมก้า3 มากๆนั้นก็คือ เนื้อปลาจากทะเลลึก นั่นเองครับ ย้ำว่าต้องลึก เพราะจะห่างไกลจากการปนเปื้อนสารปรอทและโลหะหนัก เดี๋ยวจะเป็นมะเร็งไปซะก่อน
อาหารเสริมประเภท Fish Oil ก็มีโอเมก้า3 เยอะเช่นกันครับ แต่ควรเลือกที่มีความบริสุทธิ์เกรดยา (จะสังเกตว่า คนญี่ปุ่นนั้นอายุขัยเฉลี่ยยืนยาวที่สุดในโลก ซึ่งอาหารหลักของคนญี่ปุ่นก็คือเนื้อปลานั่นเอง)
** เสริมด้วยการดื่ม โภชนเภสัช ที่เป็นเครื่องดื่ม ที่มีส่วนผสม ของ ดอกเก้กฮวย และ วิตามินบี 3 ในรูป Niacin ซึ่งมีงานวิจัยทางการแพทย์พบว่า สามารถช่วยเพิ่ม HDL ได้ถึง 29%โดยเฉลี่ย หลังรับประทานนาน 2 เดือน ***

2. ออกกำลังกายแบบแอโรบิกเป็นประจำ เช่น การเต้นแอโรบิก จะช่วยเพิ่มปริมาณการสังเคราะห์ไขมันประเภทเอชดีแอลได้ครับ

3. การควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วน ก็เป็นการเพิ่มเอชดีแอลอีกทางหนึ่ง พร้อมๆทั้งลดปริมาณไขมันชนิดไม่ดีไปในตัวด้วย

4. การดื่มแอลกอฮอล์บ้างในบางโอกาส เช่น ไวน์แดง ในปริมาณที่เหมาะสมไม่มากเกินไป จะช่วยเพิ่มปริมาณ เอชดีแอลได้ครับ





วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2556

"การใช้ยากลุ่ม statins ทำให้เกิดความจำเสื่อม"

ผู้ที่ใช้ยาลดไขมันในเลือด (สตาติน) อาจพบปัญหาผลข้างเคียงจากยา ทำให้มีอาการ อ่อนเพลีย ความจำสับสน หรือสูญเสียสมาธิ อันเนื่องมาจากยาสตาตินรบกวนการสร้าง Coenz.Q10 ในสมอง และหัวใจ
(ตรวจสอบรายชื่อยาที่มีผลข้างเคียงนี้ได้จากภาพซ้ายบน)

อีกประการหนึ่งคือ ผู้ที่ได้รับยาสตาติน มักมีอายุ 40 ปีขึ้นไป ซึ่งในวัยนี้จะมีการสร้าง Coenz.Q10 ลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะ ใน หัวใจ ตับ ไต ปอด สมอง (ภาพซ้ายล่าง) แบะจะลดลงไปอีกเรื่อยๆ เมื่ออายุมากขึ้น เป็นการซ้ำเติมให้ผู้ใช้มีคุณภาพขีวิตลดลง ผู้ใช้ยาจึงควรหมั่นสังเกตุตนเองอยู่เสมอ

การเลือกเสริม Coenz.Q10 ที่มีคุณภาพเกรดยา จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กลับคืนมา หรือ เลือกรับประทาน BiosLife Cardio ซึ่งเป็นโภชนเภสัชสำหรับลดไขมันในเลือดที่ได้รับการรับรองจาก USFDA และ อย.ไทย เรียบร้อยแล้ว สำหรับใช้แทนหรือควบคู่กับยาสตาติน เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว

"การใช้ยากลุ่ม statin เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดต้อกระจก"


ตรวจพบผลข้างเคียงใหม่ล่าสุดจากยากลุ่มสตาติน เพื่อลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือด
"การใช้ยากลุ่ม statin เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดต้อกระจก"

( สัปดาห์ที่ 3 เดือนสิงหาคม พ.ศ.2555)

รายละเอียดของข่าว
Dr Carolyn Machan และคณะ แห่งมหาวิทยาลัย waterloo ประเทศแคนาดา ได้ทำการศึกษาเพื่อหาความสัมพันธ์ของการเกิดต้อกระจกในวัยชรา (age-related cataract) และการเป็นเบาหวานประเภทที่ 2 และการใช้ยากลุ่ม statins ในผู้ป่วยจำนวน 6,397 ราย พบว่า กลุ่มผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 38 ปีขึ้นไปที่ได้รับยากลุ่ม statins และเป็นเบาหวานร้อยละ 56 ในขณะที่กลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ได้เป็นเบาหวานคิดเป็นร้อยละ 16 ผู้ที่เป็นเบาหวานมีโอกาสเกิดต้อกระจกได้มากกว่าผู้ที่ไม่ได้เป็นร้อยละ 86 (odds ratio [OR] 1.86; 95% CI 1.34–2.59) ได้แก่ ต้อกระจกที่เกิดตรงกลางแก้วตา (nuclear sclerosis) ต้อกระจกที่เกิดตรงด้านข้างของแก้วตา(cortical cataract) และ ต้อกระจกที่เกิดตรงกลางติดกับเยื่อหุ้มแก้วตา(posterior subcapsular cataract) ร้อยละ 84, 38 และ 52 ตามลำดับ ส่วนการใช้ยากลุ่ม statins อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดต้อกระจกในวัยชราร้อยละ 57 (OR 1.57; 95% CI 1.15-2.13) ได้แก่ ต้อกระจกที่เกิดตรงกลางแก้วตา และ ต้อกระจกที่เกิดตรงกลางติดกับเยื่อหุ้มแก้วตา ซึ่งเพิ่มขึ้นเท่ากันร้อยละ 48 แต่ไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดต้อกระจกที่เกิดตรงด้านข้างของแก้วตา นอกจากนี้ ยังพบว่ากลุ่มผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานที่ใช้ยากลุ่ม statins มีโอกาสเกิดต้อกระจกเร็วกว่า ผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่ได้ใช้ยา statins และกลุ่มที่ไม่ได้เป็นเบาหวานและใช้ยา statins อย่างไรก็ตาม ยังต้องมีการศึกษาระยะยาวถึงผลจากยาstatins ในผู้ป่วยเบาหวานเพื่อแนะนำการตรวจสุขภาพเลนส์ตาในผู้ป่วยกลุ่มนี้

Reference : http://www.medscape.com/viewarticle/769077

link เพิ่มเติม : http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22797512

หน่วยคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

มารู้จัก Nutraceutical กันเถอะ


Nutraceutical / โภชนเภสัช

เรียบเรียงโดย: ผศ. ดร. พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ , ศ.ดร.นิธิยา รัตนาปนนท์
ตรวจทานโดย: ผศ. ดร. พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์

Nutraceutical เป็นคำที่เกิดจากการผสม ระหว่างคำว่า "nutrients"ซึ่งหมายถึง สารอาหารและ "pharmaceutics" ซึ่งหมายถึงยาคำนี้บัญญัติครั้งแรกในปีคศ.1979 โดย นายแพทย์Stephen De Felice ผู้ก่อตั้งและเป็นประธานของ Foundation for Innovation in Medicine (FIM, Cranford, NJ)

Nutraceuticalหมายถึง อาหาร หรือส่วนประกอบของอาหาร ที่มีสรรพคุณซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ประโยชน์ทางยา ป้องกันโรค และรักษาโรค ชะลอความชรา



http://www.business-insights.com/om/ingredients/natural-nutraceutical-patent-strategy-case-studies-free-chapter/

ต่อมา Health Canada ซึ่งเป็นองค์กรด้านสุขภาพได้ให้คำจำกัดความของ nutraceutical ซึ่งระบุความหมายที่ชัดเจนขึ้น คือ " เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากอาหารที่ผ่านการสกัดหรือแยกเป็นสารบริสุทธิ์ และขายในรูปแบบเหมือนยา และมีการพบประโยชน์ต่อร่างกายหรือช่วยป้องกันการเกิดโรคเรื้อรัง"

ส่วนใหญ่ยาจะมีสารออกฤทธิ์ชนิดเดียวหรือสองชนิด มีขนาดใช้แน่นอนต่อครั้ง ส่วนใหญ่เป็นมิลลิกรัม ใช้เมื่อมีอาการของโรคที่ต้องการผลการออกฤทธิ์ที่รวดเร็ว ส่วน Nutraceutical จะเป็นสารองค์ประกอบในอาหารที่ผ่านการสกัดในรูปเข้มข้นและนำมาพัฒนารูปแบบให้เป็นเม็ด (tablet) หรือแคปซูล (capsule) ซึ่งมีรูปแบบคล้ายยา มีจุดประสงค์หลักเพื่อใช้ป้องกันการเกิดโรคและส่งเสริมสุขภาพ



สารในธรรมชาติที่จัดเป็น โภชนเภสัช

ไลโคปีน (Lycopene) จากมะเขือเทศ
สารกลุ่มคาเทชิน (Catechin) จากชาเขียว
สารกลุ่มโอลิโกเมอริค โปรแอนโทไซยานิดีน (Oligomeric proanthocyanidin, OPC) ในสารสกัดจากเมล็ดองุ่น
สารกลุ่มใยอาหาร (dietary fiber) จากเมล็ดธัญพืช ผัก ผลไม้ เช่น BiosLife Cardio
สารกลุ่มสตานอลจากพืช (Plant stanol) เช่น BiosLife Cardio

Reference

http://www.vcharkarn.com/varticle/42433