วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

โรคหัวใจและหลอดเลือดคือโรคเรื้อรังหรือโรคประจำตัวอันดับ 1 ของคนไทย

เตือนภัย "โรคหัวใจและหลอดเลือด"

โรคหัวใจและหลอดเลือดหมายรวมถึง โรคหัวใจขาดเลือด และโรคสมองขาดเลือดจากหลอดเลือดตีบหรือแตก เป็นโรคที่บ่อนทำลายชีวิตและสุขภาวะของคนไทยมากกว่าครึ่งแสนในแต่ละปี

ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โรคหัวใจและหลอดเลือดคือโรคเรื้อรังหรือโรคประจำตัวอันดับ 1 ของคนไทย โดย ร้อยละ 2 8 ป่วยด้วยโรคดังกล่าว และเป็นโรคที่คร่าชีวิตคนไทยรวมมากกว่าปีละ 65,000 คนซ้ำยังมีผลสำรวจพบผู้ที่ยังไม่ปรากฏอาการ แต่พบปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวพันต่อการเกิดโรคนี้ในอนาคตอีกจำนวนมาก

จากข้อมูลการสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 3 อันเป็นครั้งล่าสุด พบข้อมูลที่ส่งสัญญาณเตือนว่าโรคนี้น่าจะยังรั้งตำแหน่งโรคร้ายที่บั่นทอนสุขภาพและคุณภาพชีวิตคนไทยไปอีกพักใหญ่ เพราะพบปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคแฝงอยู่ในร่างกายของกลุ่มตัวอย่างจำนวนมาก ทั้งเรื่องของการสูบบุหรี่ ความดันโลหิตสูง มีอาการเบาหวาน คลอเลสเตอรอลในเลือดสูง การมีเส้นรอบเอวหรือน้ำหนักเกินมาตรฐาน มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ


ข้อมูลสำคัญอันน่ารู้ที่เกี่ยวพันกับความเสี่ยงเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดจากการสำรวจครั้งนี้
ได้แก่
• ผู้ชายไทยเกือบครึ่งหนึ่งสูบบุหรี่เป็นประจำ

• ผู้ชายมีความดันโลหิตสูงกว่าผู้หญิง

• พบอาการเบาหวาน ระดับคลอเลสเตอรอลในเลือดสูง และการทำกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอจนน้ำหนักและเส้นรอบเอวเกินมาตรฐาน เป็นปัจจัยเสี่ยงที่พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

• ผู้ชายที่อยู่ในกรุงเทพฯ พบภาวะเสี่ยงจากอาการเบาหวานมากกว่าผู้ชายในภาคอื่นถึง 2 เท่า

• คนกรุงเทพฯ มีระดับคลอเลสเตอรอลในเลือดสูงกว่าคนอีสานประมาณ 3 เท่า• มีคนจำนวนไม่น้อยที่พบปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดมากกว่า 4 ปัจจัยรวมอยู่ในตัวคนๆ เดียว โดยพบในคน
กรุงเทพฯ มากที่สุด (ร้อยละ 3) รองลงมาคือ ภาคกลาง (ร้อยละ 2 .1) ภาคใต้(ร้อยละ 1.5) ภาคเหนือ (ร้อยละ 1.1) และอีสาน (ร้อยละ 0.8) ตามลำดับ

การลดปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด
ต้องดำเนินการทั้งด้านมาตรการรัฐ และการปฏิบัติตัวของเราแต่ละคนควบคู่กัน ได้แก่มาตรการรัฐ
- การจัดการด้านนโยบายที่เกี่ยวกับอาหารและการบริโภคของประชาชน
- การปรับปรุงสิ่งแวดล้อมเพื่อเอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ
- การพัฒนาคุณภาพบริการทางด้านสุขภาพการปฏิบัติระดับบุคคล
- กินผัก ผลไม้ให้มากขึ้น และลดอาหารขนม ผลไม้ที่มีรสหวาน
- ไม่สูบบุหรี่
- ออกกำลังกายให้มากขึ้น
- ฝึกจิตใจให้ผ่อนคลายความเครียดแม้ไม่ใช่เรื่องง่ายแต่คุณทำได้แน่ หากตั้งใจจริงว่าอยากมีสุขภาพดีไปนานๆ
การลดปัจจัยเสี่ยงร่วมเหล่านี้ลง จะทำให้ลดการป่วยหรือเสียชีวิตจากกลุ่มโรคนี้ได้

ที่มา : ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด โดย นพ.วิชัย เอกพลากร ใน รายงานสุขภาพคนไทย พ.ศ.2550


วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2556

โคเลสเตอรอลชนิดเลว เป็นพิษต่อระบบประสาท ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์


เป็นที่ทราบกันว่า การรับประทานอาหารไขมันสูง และการเพิ่มขึ้นของ LDL-คลอเรสเตอรอล ในกระแสเลือด อาจเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคอัลไซเมอร์จากการเสื่อมสลายของเซลล์ประสาท (neurodegeneration) แต่กลไกการเกิดยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด

ในหนูทดลองที่รับประทานอาหารไขมันสูง พบว่ามีความผิดปกติของจำนวนโครโมโซมในเซลล์ประสาท ซึ่งพบว่าร้อยละ 90 ของการทำลายเซลล์ประสาทในคนไข้อัลไซเมอร์ คือเซลล์ประสาทที่มีจำนวนโครโมโซมผิดปกติเช่นกัน ยังพบอีกว่า LDL-คลอเรสเตอรอล เหนี่ยวนำให้เกิดการแบ่งตัวที่ผิดปกติของเซลล์เพาะเลี้ยง กล่าวคือ จะเกิดความผิดปกติในช่วงการจำลองตัวเองของโครโมโซมคู่ที่ 21 ซึ่งปกติจะได้คู่โครโมโซม กลายเป็นโครโมโซมเดี่ยวๆ หรือโครโมโซม 3 แท่ง โดยโครโมโซมคู่ที่ 21 นั้น มีรหัสพันธุกรรมของ amyloid peptide ซึ่งเป็นโปรตีนที่เป็นพิษต่อเซลล์ประสาท พบมากในสมองของคนไข้อัลไซเมอร์ นอกจากนั้น LDL-คลอเรสเตอรอล ยังทำให้รูปร่างของ mitotic spindle เปลี่ยนแปลงไป ทำให้กระบวนการแบ่งเซลล์ผิดปกติ

จากการศึกษาเหล่านี้ ช่วยให้เกิดความเข้าใจในกลไกการเกิดโรคได้มากขึ้น จะเห็นว่าการเพิ่มขึ้นของ LDL-คลอเรสเตอรอล ทำให้เกิดความผิดปกติของวัฏจักรเซลล์ ส่งผลให้มีจำนวนโครโมโซมผิดปกติ และความไม่คงตัวของโครโมโซม กระตุ้นให้เกิดการเสื่อมสลายของเซลล์ประสาท

ดังนั้น ผู้ที่มีระดับ LDL สูงเกินกว่า 150 mg% จึงไม่ควรนิ่งนอนใจ จำเป็นต้องหาทางลดระดับ LDL ให้กลับสู่ค่าปกติ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีในบั้นปลาย

อ้างอิงจาก:
Granic A. and Potter H. (2013) Mitotic Spindle Defects and Chromosome Mis-Segregation Induced by LDL/Cholesterol�Implications for Niemann-Pick C1
Alzheimer�s Disease
and Atherosclerosis. PLOS ONE. 8(4).

ดาวน์โหลด:
ดูหรือสั่งพิมพ์ในรูปแบบ




วันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

บริโภค Folate and Vitamin B6 ให้เพียงพอ ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ



ข้อมูลจากการศึกษาชิ้นหนึ่งที่ทำในประเทศญี่ปุ่นระบุว่าการรับประทาน folate และวิตามินบี 6 จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจาก stroke และโรคหลอดเลือดหัวใจอื่นๆ ได้ในผู้หญิง และอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจล้มเหลวในผู้ชายได้อีกด้วย
การศึกษาดังกล่าวมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ชาย 23,119 ราย และผู้หญิง 35,611 ราย (อายุระหว่าง 40-79 ปี) ที่ตอบแบบสอบถามที่จัดทำโดย Japan Collaborative Cohort study มีค่ากลางของระยะเวลาติดตามผล คือ 14 ปี

จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลในแบบสอบถามพบว่าผู้ชายที่รับประทาน folate และวิตามินบี6 ในปริมาณที่สูงกว่าจะมีการเสียชีวิตจากโรคหัวใจล้มเหลวต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญ และผู้หญิงที่รับประทาน folate และวิตามินบี6 ในปริมาณสูงกว่าจะมีการเสียชีวิตจาก stroke , heart disease และ cardiovascular disease ต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนการรับประทานวิตามินบี 12 นั้นไม่สัมพันธ์กับการลดลงของอัตราการเสียชีวิต และผลดังกล่าวของ folate และวิตามินบี 6 นั้นยังคงมีนัยสำคัญอยู่ แม้ว่าจะมีการปรับปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ
นักวิจัยเชื่อว่ากลไกที่ทำให้เกิดผลดังกล่าวน่าจะมาจากการที่ folate และ วิตามินบี 6 สามารถลดระดับสาร homocystein ในเลือดได้นั่นเอง

ในไบออสไลฟ์ คอมพลีท ไม่ได้มีแค่ 4 กลไก ที่เราทราบกันเท่านั้น แต่ยังอุดมไปด้วย Folate และ วิตามินบี 6 ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคหัวใจ หรือมีปัญหาโคเลสเตอรอลสูง ควรแนะนำให้เขาดื่ม ไบออสไลฟ์ คอมพลีท ก่อนอาหาร อย่างน้อยวันละ 2 มื้อ เป็นประจำตลอดไป

Reference : http://www.medscape.com/viewarticle/720645?sssdmh=dm1.613092&src=nldne&uac=112831HV





HDL หรือไขมันชนิดดี มีประโยชน์อย่างไร ต้องกินอะไรจึงได้ HDL?

HDL หรือไขมันชนิดดี มีประโยชน์อย่างไร ต้องกินอะไรจึงได้ HDL?

ไขมัน บางคนได้ยินคำนี้แล้วร้องยี้~~ เพราะคิดว่าไขมันนั้นมีแต่โทษถ้าทานเยอะเกินไป สะสมทำให้อ้วน เป็นโรคหลอดเลือด เป็นโรคหัวใจ
แต่จริงๆแล้ว ไขมันมีประเภทที่มีประโยชน์ด้่วยครับ เรียกง่ายๆว่า "ไขมันชนิดดี" นั่นเอง
ซึ่งชื่ออย่างเป็นทางการของไขมันชนิดดีนี้ ก็คือ HDL (เอชดีแอล) นั่นเองครับ

เอชดีแอลจัดเป็นคอเลสเตอรอลที่มีความหนาแน่นสูง ไม่เกิดโทษเหมือนคอเลสเตอรอลปกติ ซ้ำยังมีสรรพคุณป้องกันโรคหัวใจ โรคหลอดเลือด และโรคมะเร็งอีกด้วย (ตรงข้ามกับคอเลสเตอรอลปกติโดยสิ้นเชิง)
หน้าที่ของ HDL คือ ทำหน้าที่ขนส่ง cholesterol และ กรดไขมัน จากส่วนต่างๆ ของร่างกายไปที่ตับเพื่อทำลาย โดยใช้ enzyme LCAT(lecithin-cholesterol-acyl-transferase) เปลี่ยน chlolesterol ให้เป็น cholesterol ester เก็บไว้ในแกนกลางของ HDL-c HDL-c ตัวนี้เรียกว่า HDL3 ในระหว่างทางอาจจมีการรับ free fatty acid หรือ triglyceride จากพวกที่โดน lipase ย่อยสลายไว้ ก็จะมีโมเลกุลใหญ่ขึ้น เรียกว่าเป็น HDL2 แล้วจึงนำเข้าสู่ตับ แต่โมเลกุลของ HDL2 และ HDL3 นั้นอาจเปลี่ยนรูปไปมากันได้โดยอาศัย LCAT ช่วย
กรณีที่ผู้ป่วยที่มีระดับ HDL ต่ำกว่าปกติจะทำให้มีการสะสมของ cholesterol ในเนื้อเยื่อและผนังหลอดเลือดมากขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุเบื้องต้นที่สำคัญของการเกิดโรค atherosclerosis และ โรคหัวใจขาดเลือด
นอกจากนี้ HDL ยังมีบทบาทหน้าที่ที่สำคัญ ต่อผนังเยื่อบุหลอดเลือด และ ยับยั้งการจับตัวของลิ่มเลือด ช่วยให้เลือดไหลเวียนสะดวก ไม่อุดตัน
จึงเป็นผลดีต่อการป้องกันการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด

ค่าระดับปกติของ HDL ที่เหมาะสม คือ 35-60 mg/dl

หาก HDL ต่ำกว่า 35 mg/dL = มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

หาก HDL สูงกว่า 60 mg/dL = ไม่มีความเสี่ยง หรือความเสี่ยงต่ำ

แล้วเราจะเพิ่มปริมาณ HDL ได้อย่างไรล่ะ? มีมากในอาหารประเภทไหน หรือต้องกินอะไร?
คำตอบก็ตามนี้ครับ

1. ทานอาหารที่มี Omega 3 (โอเมก้า 3) ครับ ซึ่งแหล่งที่มีโอเมก้า3 มากๆนั้นก็คือ เนื้อปลาจากทะเลลึก นั่นเองครับ ย้ำว่าต้องลึก เพราะจะห่างไกลจากการปนเปื้อนสารปรอทและโลหะหนัก เดี๋ยวจะเป็นมะเร็งไปซะก่อน
อาหารเสริมประเภท Fish Oil ก็มีโอเมก้า3 เยอะเช่นกันครับ แต่ควรเลือกที่มีความบริสุทธิ์เกรดยา (จะสังเกตว่า คนญี่ปุ่นนั้นอายุขัยเฉลี่ยยืนยาวที่สุดในโลก ซึ่งอาหารหลักของคนญี่ปุ่นก็คือเนื้อปลานั่นเอง)
** เสริมด้วยการดื่ม โภชนเภสัช ที่เป็นเครื่องดื่ม ที่มีส่วนผสม ของ ดอกเก้กฮวย และ วิตามินบี 3 ในรูป Niacin ซึ่งมีงานวิจัยทางการแพทย์พบว่า สามารถช่วยเพิ่ม HDL ได้ถึง 29%โดยเฉลี่ย หลังรับประทานนาน 2 เดือน ***

2. ออกกำลังกายแบบแอโรบิกเป็นประจำ เช่น การเต้นแอโรบิก จะช่วยเพิ่มปริมาณการสังเคราะห์ไขมันประเภทเอชดีแอลได้ครับ

3. การควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วน ก็เป็นการเพิ่มเอชดีแอลอีกทางหนึ่ง พร้อมๆทั้งลดปริมาณไขมันชนิดไม่ดีไปในตัวด้วย

4. การดื่มแอลกอฮอล์บ้างในบางโอกาส เช่น ไวน์แดง ในปริมาณที่เหมาะสมไม่มากเกินไป จะช่วยเพิ่มปริมาณ เอชดีแอลได้ครับ





วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2556

"การใช้ยากลุ่ม statins ทำให้เกิดความจำเสื่อม"

ผู้ที่ใช้ยาลดไขมันในเลือด (สตาติน) อาจพบปัญหาผลข้างเคียงจากยา ทำให้มีอาการ อ่อนเพลีย ความจำสับสน หรือสูญเสียสมาธิ อันเนื่องมาจากยาสตาตินรบกวนการสร้าง Coenz.Q10 ในสมอง และหัวใจ
(ตรวจสอบรายชื่อยาที่มีผลข้างเคียงนี้ได้จากภาพซ้ายบน)

อีกประการหนึ่งคือ ผู้ที่ได้รับยาสตาติน มักมีอายุ 40 ปีขึ้นไป ซึ่งในวัยนี้จะมีการสร้าง Coenz.Q10 ลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะ ใน หัวใจ ตับ ไต ปอด สมอง (ภาพซ้ายล่าง) แบะจะลดลงไปอีกเรื่อยๆ เมื่ออายุมากขึ้น เป็นการซ้ำเติมให้ผู้ใช้มีคุณภาพขีวิตลดลง ผู้ใช้ยาจึงควรหมั่นสังเกตุตนเองอยู่เสมอ

การเลือกเสริม Coenz.Q10 ที่มีคุณภาพเกรดยา จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กลับคืนมา หรือ เลือกรับประทาน BiosLife Cardio ซึ่งเป็นโภชนเภสัชสำหรับลดไขมันในเลือดที่ได้รับการรับรองจาก USFDA และ อย.ไทย เรียบร้อยแล้ว สำหรับใช้แทนหรือควบคู่กับยาสตาติน เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว

"การใช้ยากลุ่ม statin เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดต้อกระจก"


ตรวจพบผลข้างเคียงใหม่ล่าสุดจากยากลุ่มสตาติน เพื่อลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือด
"การใช้ยากลุ่ม statin เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดต้อกระจก"

( สัปดาห์ที่ 3 เดือนสิงหาคม พ.ศ.2555)

รายละเอียดของข่าว
Dr Carolyn Machan และคณะ แห่งมหาวิทยาลัย waterloo ประเทศแคนาดา ได้ทำการศึกษาเพื่อหาความสัมพันธ์ของการเกิดต้อกระจกในวัยชรา (age-related cataract) และการเป็นเบาหวานประเภทที่ 2 และการใช้ยากลุ่ม statins ในผู้ป่วยจำนวน 6,397 ราย พบว่า กลุ่มผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 38 ปีขึ้นไปที่ได้รับยากลุ่ม statins และเป็นเบาหวานร้อยละ 56 ในขณะที่กลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ได้เป็นเบาหวานคิดเป็นร้อยละ 16 ผู้ที่เป็นเบาหวานมีโอกาสเกิดต้อกระจกได้มากกว่าผู้ที่ไม่ได้เป็นร้อยละ 86 (odds ratio [OR] 1.86; 95% CI 1.34–2.59) ได้แก่ ต้อกระจกที่เกิดตรงกลางแก้วตา (nuclear sclerosis) ต้อกระจกที่เกิดตรงด้านข้างของแก้วตา(cortical cataract) และ ต้อกระจกที่เกิดตรงกลางติดกับเยื่อหุ้มแก้วตา(posterior subcapsular cataract) ร้อยละ 84, 38 และ 52 ตามลำดับ ส่วนการใช้ยากลุ่ม statins อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดต้อกระจกในวัยชราร้อยละ 57 (OR 1.57; 95% CI 1.15-2.13) ได้แก่ ต้อกระจกที่เกิดตรงกลางแก้วตา และ ต้อกระจกที่เกิดตรงกลางติดกับเยื่อหุ้มแก้วตา ซึ่งเพิ่มขึ้นเท่ากันร้อยละ 48 แต่ไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดต้อกระจกที่เกิดตรงด้านข้างของแก้วตา นอกจากนี้ ยังพบว่ากลุ่มผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานที่ใช้ยากลุ่ม statins มีโอกาสเกิดต้อกระจกเร็วกว่า ผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่ได้ใช้ยา statins และกลุ่มที่ไม่ได้เป็นเบาหวานและใช้ยา statins อย่างไรก็ตาม ยังต้องมีการศึกษาระยะยาวถึงผลจากยาstatins ในผู้ป่วยเบาหวานเพื่อแนะนำการตรวจสุขภาพเลนส์ตาในผู้ป่วยกลุ่มนี้

Reference : http://www.medscape.com/viewarticle/769077

link เพิ่มเติม : http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22797512

หน่วยคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

มารู้จัก Nutraceutical กันเถอะ


Nutraceutical / โภชนเภสัช

เรียบเรียงโดย: ผศ. ดร. พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ , ศ.ดร.นิธิยา รัตนาปนนท์
ตรวจทานโดย: ผศ. ดร. พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์

Nutraceutical เป็นคำที่เกิดจากการผสม ระหว่างคำว่า "nutrients"ซึ่งหมายถึง สารอาหารและ "pharmaceutics" ซึ่งหมายถึงยาคำนี้บัญญัติครั้งแรกในปีคศ.1979 โดย นายแพทย์Stephen De Felice ผู้ก่อตั้งและเป็นประธานของ Foundation for Innovation in Medicine (FIM, Cranford, NJ)

Nutraceuticalหมายถึง อาหาร หรือส่วนประกอบของอาหาร ที่มีสรรพคุณซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ประโยชน์ทางยา ป้องกันโรค และรักษาโรค ชะลอความชรา



http://www.business-insights.com/om/ingredients/natural-nutraceutical-patent-strategy-case-studies-free-chapter/

ต่อมา Health Canada ซึ่งเป็นองค์กรด้านสุขภาพได้ให้คำจำกัดความของ nutraceutical ซึ่งระบุความหมายที่ชัดเจนขึ้น คือ " เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากอาหารที่ผ่านการสกัดหรือแยกเป็นสารบริสุทธิ์ และขายในรูปแบบเหมือนยา และมีการพบประโยชน์ต่อร่างกายหรือช่วยป้องกันการเกิดโรคเรื้อรัง"

ส่วนใหญ่ยาจะมีสารออกฤทธิ์ชนิดเดียวหรือสองชนิด มีขนาดใช้แน่นอนต่อครั้ง ส่วนใหญ่เป็นมิลลิกรัม ใช้เมื่อมีอาการของโรคที่ต้องการผลการออกฤทธิ์ที่รวดเร็ว ส่วน Nutraceutical จะเป็นสารองค์ประกอบในอาหารที่ผ่านการสกัดในรูปเข้มข้นและนำมาพัฒนารูปแบบให้เป็นเม็ด (tablet) หรือแคปซูล (capsule) ซึ่งมีรูปแบบคล้ายยา มีจุดประสงค์หลักเพื่อใช้ป้องกันการเกิดโรคและส่งเสริมสุขภาพ



สารในธรรมชาติที่จัดเป็น โภชนเภสัช

ไลโคปีน (Lycopene) จากมะเขือเทศ
สารกลุ่มคาเทชิน (Catechin) จากชาเขียว
สารกลุ่มโอลิโกเมอริค โปรแอนโทไซยานิดีน (Oligomeric proanthocyanidin, OPC) ในสารสกัดจากเมล็ดองุ่น
สารกลุ่มใยอาหาร (dietary fiber) จากเมล็ดธัญพืช ผัก ผลไม้ เช่น BiosLife Cardio
สารกลุ่มสตานอลจากพืช (Plant stanol) เช่น BiosLife Cardio

Reference

http://www.vcharkarn.com/varticle/42433



BiosLife Slim (ลดน้ำหนัก)

BiosLife Slim

เครื่องดื่มไฟเบอร์ผสมวิตามินและเกลือแร่ จากธรรมชาติ 100% รสชาติดี เห็นผลภายใน 1 เดือน มีงานวิจัยทางคลินิกรับรอง

Bios Life Slim (ไบออสไลฟ์สลิม) คือการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก ภายในรอบ 30 ปี ด้วยส่วนผสมที่เป็นธรรมชาติ จะช่วยให้รูปร่างของคุณผอมเพรียวได้อย่างเป็นธรรมชาติ

คุณประโยชน์

• ควบคุมน้ำหนักด้วยวิธี ธรรมชาติ ปลอดภัย 100%

• ไฟเบอร์ เส้นใยอาหาร จำทำให้การย่อยภายในกระเพาะอาหารเป็นไปอย่างช้าๆ ทำให้อิ่มนานไม่หิวบ่อย

• เร่งเผาผลาญ คลอเรสเตอรอล จึงช่วยลดระดับคลอเรสเตอรอล ในร่างกายได้ด้วย

• ไม่ต้องอดอาหาร ไม่ต้องควบคุมอาหาร เพียงแค่ดื่มก่อนมื้ออาหาร

• ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร (FBS) , ลดระดับน้ำตาลเกาะเม็ดเลือดแดง (HbA1C) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดสำคัญสำหรับการประเมินระดับความรุนแรงของโรคเบาหวาน

• กระตุ้นให้เอนไซม์ ที่มีหน้าที่ยับยั้งความอยากอาหาร

• ไม่ต้องออกกำลังกาย

• ไม่เกิดโยโย่ รับประกันคืนเงินหากเกิดภาวะดังกล่าว

• เห็นผลภายใน 1 เดือน

วิธีรับประทาน

ชง Bios Life Slim (ไบออสไลฟ์สลิม) 1 ซอง หรือ ปริมาณ 3-6 กรัม ผสมน้ำ 300 ซีซี เขย่าให้เข้ากันแล้วดื่มทันที ก่อนอาหาร 5-10 นาทีสามารถผสมน้ำ น้ำเย็น น้ำผลไม้ นมเปรี้ยว โยเกิร์ต นมไขมันต่ำ เพื่อให้เกิดรสชาติตามความเหมาะสม

ข้อแนะนำ

• ใช้กับผู้ป่วยเบาหวาน ช่วยเสริมการเผาผลาญน้ำตาลให้ดีขึ้น
• กรณีผสมนมเปรี้ยวหรือโยเกิร์ต ช่วยเพิ่มความนุ่ม และปริมาณกากอาหาร ช่วยบรรเทาท้องผูกเรื้อรัง และโรคริดสีดวง
• ในผู้ป่วยเบาหวาน โคลเรสเตอรอลสูง ที่รับประทานยาจากแพทย์ ไม่ควรหยุดยาของแพทย์
ทันที แต่สามารถใช้วิตามินผสมใยอาหารนี้เสริมการรักษา โดยดื่มในมื้อที่ไม่มียารับประทาน
• การรับประทานใยอาหาร ควรดื่มน้ำมาก ๆ
• ห้ามใช้ในผู้ป่วยลำไส้อุดตัน โรคไต
• เด็ก ,หญิงมีครรภ์ ,ให้นมบุตร ควรได้รับคำแนะนำเฉพาะก่อนรับประทาน โทร. 0889649979 ภก.ชาญชัย
• การทำงานของ bios life slim ในบางรายที่ร่างกายไม่คุ้นเคยกับใยอาหาร อาจพบกับระยะปรับตัวในช่วงแรก เช่น ท้องอืด บางรายท้องเสีย อาการนี้จะค่อย ๆ หายไป และพบในคนส่วนน้อย
 วิธีแก้ไข คือ ในช่วง 2-3 วันแรก ให้ผสมเครื่องดื่มเพียงจาง ๆ โดยผสม ครึ่งซอง ในน้ำ 300 ซีซี หลังจากนั้นค่อย ๆไต่ระดับเพิ่มความเข้มข้น จนได้มื้อละ 1 ซอง


วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2556

BioLife Cardio (ลดโคเลสเตอรอล)


Bios Life (PDR)



Bios Life Complete ไบออสไลฟ์ คอมพลีท
วิตามินและใยอาหาร สูตรที่มีการวิจัยเด่นชัดว่าสามารถช่วยลดคลอเรสเตอรอล ลด LDL(ไขมันเลว) และสามารถเพิ่ม HDL(ไขมันดี) แม้ไม่ออกกำลังกายก็ตาม สามารถควบคุมเบาหวานป้องกันโรคหัวใจ ไขมันในหลอดเลือด ป้องกันมะเร็งชนิดต่างๆ และสามารถควบคุมน้ำหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่มี Side Effectต่อร่างกาย ได้รับการรับรองในคู่มือทางการแพทย์ (PDR) และสมาคมโรคหัวใจชาวอเมริกัน

Bios Life Complete สามารถลดไขมันเลวได้ถึง 31% และเพิ่มไขมันดีได้ถึง 29 % ซึ่งยากลุ่มสตาตินไม่สามารถทำได้

คุณประโยชน์
*ไบออสไลท์ คอมพลีท ได้รับการยอมรับจากวงค์การแพทย์ และเภสัชกรโดยได้รับการบันทึกไว้ในหนังสืออ้างอิงทางการแพทย์ Physician's Desk Reference PDR ปี 2005
*ช่วยลดปริมาณคลอเรสเตอรอลในเลือดและกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย
*มีใยอาหารที่ละลายน้ำได้ (Soluble fiber) ในธัญพืช ข้าวโพด ข้าวโอ๊ด ข้าวบาร์เล่ย์ ถั่ว ต้านการก่อมะเร็งในระบบทางเดินอาหาร
*มีสารต้านอนุมูลอิสระ วิตามินเอ, ซี, อี, เบต้าแคโรทีน, เซเลเนียม
*มีวิตามิน B1, B2, B3, B16, B12, ไบโอติน, กรดโฟริค เกลือแร่ แคลเซียมและสังกะสี
*มีสารโครมเมท (Chrome Mate) ซึ่งเป็นสารประกอบระหว่างอ๊อกซิเจนกับสารโพลีไนโคนิเนท
(ไนอาซิน-โครเมียม) ที่ร่างกายสามารถดูดซึมได้
*ใยอาหารในใบออสไลฟ์ คอมพลีท ช่วยลดอัตราการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
*ช่วยควบคุมน้ำหนักของร่างกายได้อย่างมีประสิทธภาพโดยที่ไม่ต้องอดอาหารเลย
*ทำให้ผิวพรรณดี อมชมพู เมื่อทานอย่างต่อเนื่อง
*ช่วยชลอความชรา

ส่วนผสมหลักจากธรรมชาติที่มีคุณค่า 4 อย่าง

ในการช่วยรักษาระดับโคเลสเตอรอลในร่างกายให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย ได้แก่

1.Soluble Fiber (ใยอาหาร ชนิดละลายน้ำ) ได้จาก กวากัม , กัมอาราบิค , โลคัส บีน กัม , เพคติน
ไฟเบอร์ช่วยลดการดูดซึมกรดน้ำดีกลับที่ลำไส้ใหญ่ สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา The American Heart Association แนะนำให้รับประทานใยอาหาร 25 - 30 กรัมต่อวัน จากการวิจัยพบว่า โดยเฉลี่ยคนทั่วไปรับประทานใยอาหารน้อยกว่า 11 กรัมต่อวัน อาหารประเภทไขมันที่เรารับประทานเข้าไป จะถูกน้ำย่อยและกรดน้ำดีในทางเดินอาหารย่อย และถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดต่อไป ใยอาหารออกฤทธิ์โดยการสร้างเจลซึ่งมีคุณสมบัติจับกรดน้ำดีในทางเดินอาหาร ทำให้กรดน้ำดีเหล่านั้นไม่สามารถถูกดูดซึมกลับเข้าสู่กระแสเลือดที่ลำไส้ใหญ่ได้ และถูกขับออกมากับอุจจาระในที่สุด

2.Phytosterols (ไฟโตสเตอรอล) ลดการดูดซึมโคเลสเตอรอลในอาหารที่เรารับประทานเข้าไป จะช่วยรักษาระดับโคเลสเตอรอลในร่างกายและส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน เป็นสารสเตอรอลที่พบในพืช และสามารถพบได้ปริมาณเล็กน้อยในร่างกาย
เนื่องจากไฟโตสเตอรอลดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้น้อยมาก
เนื่องจากไฟโตสเตอรอล มีหน้าตาคล้ายกับโคเลสเตอรอล จึงทำหน้าที่ยับยั้งการดูดซึมโคเลสเตอรอลในอาหารไม่ให้เข้าสู่ กระแสเลือดได้ โดยปิดกั้นกระบวนการดูดซึมโคเลสเตอรอลจากทางเดินอาหารไม่ให้เข้าสู่กระแสโลหิต ทำให้โคเลสเตอรอลในอาหารที่เรารับประทานเข้าไปไม่สามารถถูกดูดซึมและถูกขับออกมาพร้อมกับอุจจาระในที่สุด

3.Policosanol (โพลิโคซานอล) ช่วยลดการสังเคราะห์โคเลสเตอรอลที่ตับ ตับของเราทำหน้าที่สังเคราะห์โคเลสเตอรอลโดยอาศัยการทำงานของเอนไซม์ HMG-CoA reductase ในตับ ซึ่งเอนไซม์ชนิดนี้สามารถถูกยับยั้ง ด้วยยาลดไขมันกลุ่ม สตาติน โพลิโคซานอล คือ สารสกัดจากอ้อยที่มีคุณสมบัติสามารถยับยั้งเอนไซม์ HMG-CoA reductase ได้เช่นกัน

4.Chrysanthemum (สารสกัดจากดอกเก๊กฮวย) ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องดื่มมานานนับศตวรรษในประเทศจีน ช่วยกระตุ้นการทำงานในเอมไซม์ในร่างกายในการเร่งการสลาย และเผาผลาญโคเลสเตอรอล จะช่วยทำความสะอาดและเพิ่มสุขภาพที่ดีโดยรวมให้แก่ร่างกาย


Bios life ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทใยอาหารผสมวิตามินและเกลือแร่

- จากการศึกษาทางคลีนิกพบว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทใยอาหารผสมวิตามินและเกลือแร่ มีประสิทธิภาพในการลดระดับ LDL หรือ คอเลสเตอรอลที่ทำให้เกิดโรคได้เฉลี่ยถึง 31% ในผู้ป่วยบางรายมีรายงานว่าระดับ LDL ลดลงได้ถึง 52% ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษานี้กว่า 20% มีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ

- สิ่งที่ทำให้คณะผู้ทำการวิจัยรู้สึกประหลาดใจก็คือ โภชนเภสัชชนิดนี้ ช่วยทำให้ HDL หรือ คอเลสเตอรอลดีในผู้ป่วยเพิ่มระดับขึ้นได้เฉลี่ยถึง 29%

- ในขณะที่คนที่ระดับไขมันอยู่ในเกณฑ์ปกติ ระดับ HDL เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 25% การศึกษาในผู้ป่วยบางราย พบว่า HDL เพิ่มขึ้นได้ถึง 52%

- การรับประทาน โภชนเภสัช ไบออสไลฟ์ ควรรับประทานก่อนมื้ออาหาร 5-10 นาที และ ผลในการลดระดับ คอเลสเตอรอลในเลือดจะมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น หากมีการควบคุมอาหารควบคู่ไปกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทใยอาหารผสมวิตามินและเกลือแร่ ยังได้รับการพิสูจน์แล้วว่า หากใช้ควบคู่กับยาลดไขมันกลุ่มสเตติน จะเสริมประสิทธิภาพของยาในการลดระดับไขมันให้ลดลงได้อีกถึง 20% ซึ่งโดยปกติการใช้ยาลดไขมันเดี่ยวๆจะมีประสิทธิภาพจำกัดในการลดระดับไขมันในเลือด



"Bios life สามารถลดระดับ LDL และ เพิ่มระดับ HDL ไปพร้อมๆกัน โดยไม่บังคับว่าต้องออกกำลังกาย"



Bioslife ได้ผ่านการพิสูจน์ทางการแล้วว่า

สามารถลดระดับ LDL Cholesterol (ไขมันชนิดเลว) ลงได้ถึง 31%

เพิ่มระดับ HDL Cholesterol (ไขมันชนิดดี) ได้ถึง 29% เมื่อรับประทานต่อเนื่องกัน 8 สัปดาห์

*** ขณะที่ยาลดคอเลสเตอรอลทั่วไปในท้องตลาด จะไปสั่งตับไม่ให้สร้าง คอเรสเตอรอล และไม่สามารถเพิ่มระดับ HDL Cholesterol (ไขมันชนิดดี) ได้ ิช่วยให้ LDL Cholesterol (ไขมันชนิดเลว) ลดลงได้แต่ ก็จะทำให้ HDL Cholesterol (ไขมันชนิดดี) ลดลงด้วย และ ยังมีผลข้างเคียง ที่มีอันตรายต่อตับ และ อันตรายอื่นๆอีก

ส่วนประกอบอื่นๆ

วิตามินพรีมิกซ์
แคลเซียมคาร์บอเนต
คลีมฟลาเวอร์
แอสปาแทม (สารให้รสหวาน ปราศจากแคลอรี่)
มอลโทเดกซ์ทรินท์ (Maltodextrin)
ซิงค์ กลูโคเนท
โครเมียมโพลีนิโคทิเนท

วิธีรับประทาน

ชงดื่ม ไบออสไลฟ์ คอมพลีท ปริมาณ 3-6 กรัม ผสมน้ำ 300 ซี.ซี
เขย่าให้เข้ากันแล้วดื่มทันทีก่อนอาหาร 15 นาทีเป็นอย่างน้อย
สามารถชงดื่มผสมกับน้ำผลไม้สด หรือน้ำเย็นก็ได้

คำแนะนำ

*ใช้กับผู้เป็นโรคเบาหวานได้ เพราะ ช่วยเสริมการเผาผลาญน้ำตาลให้ดีขึ้น ลดการดื้ออินสุลิน ด้วย Chromium polynicotinate
*เด็กและสตรีมีครรภ์ให้นมบุตร ควรได้รับคำแนะนำเฉพาะก่อนบริโภค Tel 0889649979 (ภก.ชาญชัย)
*ผู้ที่ได้รับยาจากแพทย์ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน คลอเรสเตอรอลสูง ไม่ควรหยุดยาจากแพทย์ ควรดื่มเสริมในมื้อที่ไม่มียารับประทาน
*หลังดื่ม 2-4 สัปดาห์ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรพบแพทย์เพื่อตรวจเลือด และปรับลดยาจากแพทย์เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดลดลง
*หลังดื่ม 4-8 สัปดาห์ ผู้ป่วยคลอเรสเตอรอลสูง ควรพบแพทย์เพื่อตรวจเลือดและปรับลดยาจากแพทย์เมื่อไขมันลดลง
*เมื่อผลเลือดอยู่ในระดับที่ปกติดีแล้วแพทย์จะหยุดจ่ายยาให้กับผู้ป่วย หลังจากนั้นรับประทานไบออสไลฟ์ คาร์ดิโอ อย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาระดับน้ำตาล,ไขมัน, คลอเรสเตอรอลให้เป็นปกติตลอดไป เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงแทนการใช้ยากลุ่มสตาตินซึ่งมีผลข้างเคียงต่อร่างกาย
*การรับประทานใยอาหารควรดื่มน้ำมากๆ
*ห้ามใช้ในผู้ป่วยโรคไตวาย ลำไส้อุดตัน




Bios Life Money back guarantee 100% risk free

พิเศษ ! รับประกันความพอใจ และผลลัพธ์ของการรักษาโรค เพื่อให้ท่านได้ใช้ผลิตภัณฑ์โดยปราศจากความเสี่ยงใดๆ





เงื่อนไขการรับประกันคืนเงิน 100%

- ยื่นผลตรวจเลือดที่มีอายุไม่เกิน 15 วัน นับจากวันที่ตรวจ ที่แสดงถึงระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูงเกิน 200 mg%
- รับประทาน Bios life อย่างน้อย วันละ 2 ซอง เป็นเวลาติดต่อกัน 2 เดือน หลังจากนั้นไปตรวจเลือดอีกครั้งหนึ่ง
หากระดับโคเลสเตอรอลไม่ลดลง ยินดีคืนเงินอย่างครบถ้วน 100%
- เก็บซองเปล่าทั้งหมดไว้ เพื่อนำมาแลกเงินคืน


การทดลองทางคลินิก ของ ไบออสไลฟ์ คาร์ดิโอ

Cleveland Clinic Trial by Dr. Dennis Sprecher
Published in Sprecher DL, Pearce GL (2002) Fiber-multivitamin combination therapy: a beneficial influence on lowdensity lipoprotein and homocysteine Metabolism 51, 1166-70.


Click link -----> http://www.unicity.com/unicityscience/images/Clinical%20Studies/Metabolism.pdf